วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2559



จิตสาธารณะคืออะไร???
สวัสดีครับเพื่อนๆทุกคน วันนี้ผมจะพาทุกคนไปรู้จักกับคำว่า "จิตสาธารณะ" 
"จิตสาธารณะ" เป็นคำที่ได้รับการบัญญัติขึ้นมาจากคำว่า public consciousness (หรือ  Public mind) หมายถึง จิตสำนึกเพื่อส่วนรวม เพราะคำว่า สาธารณะ” (public) คือ สิ่งที่ไม่ได้เป็นของผู้หนึ่งผู้ใด จิตสาธารณะจึงเป็นความรู้สึกถึงการเป็นเจ้าของในสิ่งที่เป็นสาธารณะ ในสิทธิและหน้าที่ที่จะดูแล  และ บำรุงรักษาร่วมกัน
การปลูกต้นไม้หรือปลูกป่าชายเลน ก็ถือว่าเป็นจิตสาธารณะรูปแบบหนึ่ง
เนื่องจากเป็นการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม และช่วยลดโลกร้อน
               ราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายของ จิตสำนึกทางสังคม หรือจิตสำนึกสาธารณะว่า คือ การตระหนักรู้และคำนึงถึงส่วนรวมร่วมกัน หรือการคำนึงถึงผู้อื่นที่ร่วมสัมพันธ์เป็นกลุ่มเดียวกัน
                 จิตอาสา หรือ มีจิตสาธารณะ ยังหมายรวมถึง  จิตของคนที่รู้จักความเสียสละ ความร่วมมือ ร่วมใจ ในการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม ซึ่งจะช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม ช่วยกันพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อเป็นหลักการในการดำเนินชีวิต ช่วยแก้ปัญหาและสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์สุขแก่สังคม เช่น การช่วยกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม โดยการไม่ทิ้งขยะลงในแหล่งน้ำ การดูแลรักษาสาธารณสมบัติ เช่น โทรศัพท์สาธารณะ หลอดไฟฟ้าที่ให้ความสว่างตามถนนหนทาง โดยการไม่ไปทำลายหรือทำให้เสียหาย หรือแม้แต่การประหยัดน้ำ ประปา หรือไฟฟ้า ที่เป็นของส่วนรวม โดยใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า ตลอดจนช่วยกันดูแลรักษา ให้ความช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก หรือผู้ที่ร้องขอความช่วยเหลือเท่าที่จะทำได้ ตลอดจนร่วมมือกระทำเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา หรือช่วยกันแก้ปัญหา แต่ต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย เพื่อรักษาประโยชน์ส่วนรวม



จิตสาธารณะเพื่อส่วนรวม
      จิตสำนึกเพื่อสวนรวมนั้นสามารถกระทำได้ โดยมีแนวทางเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
      1. โดยการกระทำตนเอง ต้องมีความรับผิดชอบต่อตนเอง เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบและเกิดความเสียหายต่อส่วนรวม

      2. มีบทบาทต่อสังคมในการรักษาประโยชน์ของส่วนรวม เพื่อแก้ปัญหา สร้างสรรค์สังคม ซึ่งถือว่าเป็นความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม

การช่วยกันเก็บขยะ วิธีหนึ่งแสดงถึงการมีจิตสารณะส่วนร่วม


ความสำคัญของจิตสาธารณะ 
       จิตสาธารณะเป็นความรับผิดชอบที่เกิดจากภายใน คือ ความรู้สึกนึกคิด จิตใต้สำนึกตลอดจจนคุณธรรม
จริยธรรม ซึ่งอยู่ในจิตใจ และส่งผลมาสู่การกระทำภายนอก
      ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น จะเห็นว่าเกิดจากการขาดจิตสำนึกของคนส่วนรวมในสังคมเป็นสำคัญ เช่น
      1. ปัญหายาเสพติด
      2. ปัญหามลพิษต่าง ๆ ที่เกิดจากความไม่รับผิดชอบ ขาดจิตสำนึกเช่น
          - การปล่อยน้ำเสียออกจากโรงงาน โดยไม่ผ่านการบำบัด
ขยะในแม่น้ำลำคลอง
          - การจอดรถยนต์โดยไม่ดับเครื่องยนต์ ทำให้เกิดควันพิษ โดยเฉพาะในเมืองใหญ่
          - ทรัพยากรป่าไม้ถูกทำลาย
          - ปัญหาเด็กถูกทอดทิ้ง
          - การใช้ทางเท้าสาธารณะเพื่อประโยชน์ส่วนตัว โดยไม่คำนึงถึงส่วนรวม
          - การทิ้งขยะลงแม่น้ำลำคลอง
          - การฉีดสารเร่งเนื้อแดงในสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะสุกร ซึ่งมีผลต่อโรคภัยไข้เจ็บในมนุษย์
เช่นโรคมะเร็งเป็นต้น
       จิตสาธารณะจึงเป็นสิ่งสำคัญในสังคม เยาวชนต้องให้ความสำคัญและตระหนักในสิ่งนี้

จิตอาสาของผม
เมื่อช่วงเย็นของวันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ.2559 ที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสกลับบ้านที่จังหวัดเชียงใหม่ ผมจึงได้มีโอกาสไปปฏิบัติศาสนกิจของศาสนาคริสต์ (เข้าร่วมพิธีมิสซา) ณ โบสถ์พระหฤทัย นอกจากจะปฏิบัติศาสนกิจแล้ว ผมยังได้บริจาคเงินให้กับมูลนิธิ st. Vincent De Paul ซึ่งเป็นมูลนิธิช่วยเหลือเด็กที่ขาดแคลนทุนการศึกษาและเด็กที่ยากไร้ โดยจะมีการมอบทุนให้เด็กในทุกๆปี ซึ่งทำให้ผมรู้สึกดี ที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของทุนการศึกษาเพื่อเด็กเหล่านั้น ถึงแม้จะเป็นเพียงเงินจำนวนน้อยแต่ก็สามารถช่วยเหลือพวกเขาได้  และยังได้ช่วยโบสถ์เก็บหนังสือที่ผู้เข้าร่วมมิสซาไม่ได้หยิบนำไปไว้ที่เดิมอีกด้วย ซึ่งก็เป็นการช่วยเหลือวัดอีกทางหนึ่งเช่นกัน


นายพัชรพล แสงรัตน์วัชรา ม.4/662 เลขที่ 35
สืบค้นข้อมูลวันที่ 17 - 24 พ.ค. 2559
http://www.nitade.lpru.ac.th/2012/html/news9.html
http://public-mind-triamudom.blogspot.com/
http://www.rotary3350.org/rotary/sites/default/files/styles/galleryformatter_slide/public/images_gallery/rotaract29-3-57-03.JPG?itok=3dRevdoZ
http://farm4.static.flickr.com/3633/3581218718_0d1de34b30.jpg

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น